วิ่งไปกับหมอครอบครัว

[ENGLISH VERSION] 28 พฤษภาคม พ.ศ.2562

การวิ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ ขณะเดียวกัน การวิ่งคือสัญลักษณ์ของการแสดงพลังเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เช่นเดียวกับ โครงการ “Run with family doctors” หรือ “วิ่งไปกับหมอครอบครัว” ถือเป็นการเริ่มต้นเล็กๆ ที่ “แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว” หรือ “หมอครอบครัว” รณรงค์ให้ประชาชนออกกาลังกายและส่งเสริมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว การวิ่งไปกับหมอครอบครัว เราจะเก็บเกี่ยวอะไรได้บ้าง

การวิ่งไปกับหมอครอบครัว เป็นการวิ่งแบบ virtual run สามารถวิ่งที่ไหนก็ได้ โดยใช้ระบบการสะสมระยะทาง ตลอดระยะเวลา 3 เดือน สาหรับเช้าวันอังคาร ที่ 28 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพมหานคร มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวกว่าสามสิบคนมารวมตัวกันแต่เช้ามืด เตรียมยืดเส้นยืดสายด้วยกิจกรรมแอโรบิค และออกตัวสตาร์ทวิ่งนาร่อง ภายใต้บรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นกันเอง ด้วยท่าทางการวิ่งอย่างกระฉับกระเฉง หลังจบการวิ่ง เมื่อเหงื่อไหลซึมผ่านผิวกาย ยิ่งขับเน้นบรรยากาศที่อบอุ่น หมอครอบครัวหลายคนบอกเล่าความหมายของการวิ่งครั้งนี้ไว้หลากหลายแง่มุมที่น่าสนใจ

ก้าวไปพร้อมกับคนในครอบครัว
ในปี พ.ศ.2562 คือวาระครบรอบ 20 ปี ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทย หมอครอบครัวเป็นหมอเฉพาะทางสาขาหนึ่งที่จะเป็นทางเลือกสาหรับหมอที่อยากจะดูแลคนทั้งคน การที่จะทาความเข้าใจซาบซึ้งถึงการดูแลแบบหมอครอบครัวต้องอาศัยระยะเวลา ซึ่งโครงการวิ่งไปหมอครอบครัวเป็นเสมือนการเปิดพื้นที่ให้เกิดการเรียนรู้วิถีสร้างสุขภาพองค์รวม

แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทยและเลขาธิการราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า “การดูแลคนทั้งคน คือ ไม่ได้ดูแลแยกเป็นเรื่องๆ ดูแลตลอดช่วงชีวิต และดูแลแบบมีหัวใจความเป็นมนุษย์ และมีความซาบซึ้งที่อยากดูแลอย่างจริงจังรู้จักหรือไม่รู้จักอาจไม่สาคัญเท่ากับว่ารู้ลึกซึ้งแค่ไหน สิ่งสาคัญคือรู้ลึกซึ้งถึงผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากหมอครอบครัว เพราะเราคิดว่าสิ่งที่มีของหมอครอบครัวคือความตั้งใจ ความปรารถนาที่จะดูแลสุขภาพร่วมกับประชาชน”
แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร เชิญชวนกึ่งทาท้ายว่า “การวิ่งเป็นการทดสอบพละกาลัง ทดสอบจิตใจ ว่าเราเองจะต่อสู้กับความขี้เกียจ ความลาบาก ความเหนื่อย เพื่อกลับมาเริ่มต้นดูแลสุขภาพตัวเอง รวมทั้งเป็นการทดสอบให้เห็นว่าพลังจริงๆ ในร่างกายมีเยอะ บางทีเราไม่มีโอกาสดึงออกมาใช้ และไม่ได้ใช้ อยากให้ใช้โอกาสนี้ทดสอบพลังของตัวเอง”

‘พลังในร่างกายมีเยอะ บางทีเราไม่มีโอกาสดึงออกมาใช้…’

การวิ่งครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร ได้ออกมาวิ่งพร้อมกับคนในครอบครัว เช่นเดียวกับ แพทย์หญิงศิรินภา ศิริพร ณ ราชสีมา เลขาธิการสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “เป็นครั้งแรกที่ครอบครัวเราได้มาออกกาลังกายร่วมกัน”
ขณะที่ นางมณธิรา ศิริพร ณ ราชสีมา คุณแม่ของแพทย์หญิงศิรินภา กล่าวถึงเคล็ดลับสาคัญที่ให้ทาร่างกายและจิตใจแข็งแรง เพราะมีลูกสาวเป็นหมอประจาตัว ที่ให้คาปรึกษาทางกายและจิตใจ นอกจากนี้ ยังเล่าถึงความภาคความภูมิใจในบทบาทของลูกสาวว่า “เขาเคยดูแลคนไข้ บางทีต้องไปดูแลถิ่นทุรกันดาร เคยนั่งรถซาเล้งไปดูคนไข้ติดเตียง เขาถ่ายรูปมาให้ดู และไปดูแลคนที่เป็นดูแลอีก” กล่าวพลางมองหน้าลูกสาวด้วยรอยยิ้มเบิกบาน

ก้าวออกมาสัมผัสชีวิต
การวิ่งจึงไม่ต่างจากการดึงพลังชีวิตที่ซ่อนอยู่นามาใช้ประโยชน์มากขึ้น แต่สาหรับผู้พิการที่สามารถใช้ขาได้อย่างคนปกติ ในเช้ามืด แพทย์หญิงชญานิศ รัตนกาญจน์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป โรงพยาบาลสุรินทร์ นั่งรถเข็นมารอเตรียมออกวิ่งไปพร้อมกับเพื่อนหมอครอบครัว เธอเล่าว่าหลังจบแพทย์เพียง 3 เดือน ก็ล้มป่วยจนต้องนั่งรถเข็น แต่ด้วยใจสู้และมุ่งมั่นที่จะเป็นทั้งหมอที่รักษา และยังหวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนไข้ก้าวออกมาใช้ชีวิต

ก้าวบนวีลแชร์ของ แพทย์หญิงชญานิศ รัตนกาญจน์ จึงเป็นสัญลักษณ์ของการก้าวออกมาใช้ชีวิต “เพราะเห็นคนไข้ที่เป็นแบบเรา ไม่ได้เข้ามารู้ว่า จริงๆ เราสามารถออกมาใช้ชีวิตแบบคนทั่วไปได้ อยากจะบอกเขาว่าถึงแม้เราจะนั่งรถเข็ญ แต่เรายังใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ ทางานได้ตามปกติ ไปเยี่ยมบ้านคนไข้ ตรวจคนไข้ ดูแลคนไข้เหมือนเดิม ส่วนใหญ่คนไข้ที่บาดเจ็บแบบเดียวกัน ไปให้เขาเห็นว่าการนั่งรถเข็ญสามารถออกมาใช้ชีวิตได้ แล้วเอารถโยกไปให้เขานั่ง เขาก็ออกมาใช้ชีวิตตามปกติ ตอนนี้เขาก็นั่งรถโยกขายของ เลี้ยงตัวเองได้ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นเคสเดียวกับเรา เขาจะมีกาลังใจขึ้นเยอะ หมอก็ทาได้ ผมก็ทาได้” บนเส้นทางการวิ่งจึงมีเรื่องราวที่ซ่อนอยู่อีกมากมาย ระยะทางการวิ่งจึงเป็นเสมือนพื้นที่สนทนา ทั้งแง่มุมของความทุกข์และความสุข

‘เวลาที่เราเปิดรับหรือเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา สิ่งเหล่านี้เติมเต็มให้เรามากขึ้น’

สาหรับบางคน การวิ่งคือการเก็บเกี่ยวความรื่นรมย์ระหว่างทาง เป็นกิจกรรมที่สร้างการรับรู้ระหว่างเรากับโลกด้วยสัมผัสโดยตรง แพทย์หญิงสายรัตน์ นกน้อย ประธานวิชาการคณะกรรมการวิชาการ ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย ได้เปรียบเปรยว่าการทางานแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวต้องอาศัยการเปิดรับเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ “หมอเองได้สัมผัสเองกับการมีปฏิสัมพันธ์ว่าเวลาที่เราเปิดรับหรือเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา สิ่งเหล่านี้เติมเต็มให้เรามากขึ้น เรารู้สึกว่าเราได้ช่วยคนอื่นได้ ในขณะเดียวกันคนอื่นก็มีส่วนเติมเต็มและเชื่อมกับเรา ความเป็นเวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลทุกสิ่งอย่าง เชื่อมถึงกันไม่ว่าด้านสังคม ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือว่าศิลปะ สิ่งเหล่านี้ ไปด้วยกันหมดเลย วิชาการของเวชศาสตร์ครอบครัวต้องผสมและรวมพร้อมทุกสิ่งอย่าง”
แพทย์หญิงสายรัตน์ นกน้อย เล่าถึงเหตุผลสาคัญเมื่อครั้งเลือกเรียนเวชศาสตร์ครอบครัวว่า “เมื่อทางานแล้ว เรารู้ว่ามันมีบางอย่างที่ขาดไปจากการฝึกอบรม หมอครอบครัวเติมเต็มเรา ทาให้เราดูแลคนไข้ได้อย่างมีคุณภาพ ในขณะเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะคนไข้ที่ได้ประโยชน์ ตัวเราเองก็เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งมากขึ้น ระบบสุขภาพที่ดี เราจะต้องมีหมอที่ดูแลประจาตัวและดูแลต่อเนื่อง เห็นตัวคนไข้ทั้งคน ต้องเห็นคนไข้ทั้งคน ต้องเข้าใจว่าเขาเป็นใคร มาจากไหน อะไรเป็นสิ่งสาคัญและเป็นคุณค่าของของคนไข้และครอบครัว เวลาเรารักษาเพื่อตอบโจทย์คนไข้ ไม่ได้ตอบโจทย์ทางการแพทย์อย่างเดียว”

พลังในการก้าวต่อไป
ก้าวที่ประชาชนร่วมออกมาวิ่งไปกับหมอครอบครัว จึงมีความสาคัญต่อการเสริมพลังระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งเป็นงานที่ใช้ระยะเวลาบ่มเพาะจากฐานราก ดังที่ แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทยและเลขาธิการราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ได้เน้นย้าบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ว่า “เราถือว่าหมอครอบครัวคือฐานราก และหมอครอบครัวคือตัวสะพานเชื่อม ระหว่างสุขภาพของประชาชนกับระบบบริการสุขภาพ ทาอย่างไรจะทาให้ประชาชนสามารถใช้บริการได้อย่างพอดี และเป็นตัวเชื่อมให้บริการไปถึงมือประชาชนได้อย่างพอดี พอเหมาะ ทั้งทุกเพศ ทุกวัย ในแง่สถานการณ์ความเจ็บป่วยต่างๆ”

ด้วยเหตุนี้ ก้าวนี้…ที่หมอครอบครัวก้าวออกมาวิ่ง ยังเผยให้เห็นความปรารถนาที่จะร่วมสร้างสุขภาพองค์รวมไปพร้อมกับประชาชน นอกจากนี้ โครงการ Run with Family Doctor ที่จัดขึ้นเนื่องจาก World Family Doctor Day เป็นการผลักดันหรือเคลื่อนไหวของหมอครอบครัวไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นการเกิดขึ้นทั่วโลก เป็นการผลักดันเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและยุติธรรมของประชาชนผู้ยากไร้หรือผู้ลาบากอีกด้วย

บนเส้นทาง virtual run ที่เราสามารถเลือกสถานที่วิ่งเอง และสะสมระยะทางตามที่เราต้องการ จุดหมายสาคัญอาจไม่ใช่การครอบครองสถิติสูงที่สุด แต่คงเป็นช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยวความรู้ ความสุข มิตรภาพ และสานสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ที่มีหมอครอบครัวพร้อมเคียงข้างการดูแลสุขภาพของประชาชน


เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ สมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย

Discover more from สมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading